สินเชื่อซื้อบ้านธนาคารไหนดีอนุมัติไวง่ายเร็ว

สินเชื่อบ้านธนาคารไหน อนุมัติง่ายและดีสุด ไปดูกัน 2567

อยากกู้เงินซื้อบ้าน มองหาสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย ธนาคารไหนอนุมัติง่าย อนุมัติเร็ว ดอกเบี้ยดีสุด อัพเดทไปดูกัน

2,511 Views จำนวนผู้เยี่ยมชม

ธนาคารส่วนใหญ่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกจากเดือน มกราคม ปี 2567 ทุกธนาคาร เนื่องจากหลายธนาคารมีการประกาศ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ MRR MLR MOR เพิ่มขึ้นราว 0.400% อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกที่ต่ำที่สุดมาจัดอันดับ โดยมีอัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารที่น่าสนใจ ดังนี้

ตารางอัตราดอกเบี้ยบ้าน – คอนโดของธนาคารพาณิชย์ 2567

ธนาคาร

ดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปีแรก

วงเงินกู้สูงสุด

1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์

1.99%

วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อหลักประกัน (สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน มาตรา 33 ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี 1.99 % ต่อปี)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.400% (ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2566)

2.ธนาคารทหารไทยธนชาต

3.25%

วงเงินขั้นต่ำ 5 แสนบาท สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท (กรณีซื้อจาก บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กลุ่มพิเศษที่ธนาคารกำหนด และสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.180% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566​)

3.ธนาคารออมสิน

3.34%

ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า (สำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะที่มีวงเงินกู้สินเชื่อเคหะตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.495% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)

4.ธนาคารกรุงเทพ

3.38%

70-100% ของราคาประเมิน (สินเชื่อเพื่อกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ นักบิน และพนักงานประจำที่มีรายได้สูง 200,000 บาทขึ้นไป และทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)

5.ธนาคารกรุงศรีฯ

3.53%

100% ของราคาประเมิน สำหรับคอนโดราคา 1 ล้านบาทขึ้นไปสำหรับลูกค้าทั่วไป (90% สำหรับบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และโฮมออฟฟิศ และ 85% สำหรับคอนโดราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ และลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ และคู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566)

6.ธนาคารกรุงไทย

3.60%

วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน (กรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.870% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566​)

7.ธนาคารกสิกรไทย

6.53%

วงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักประกัน (สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำที่มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.600% (ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2566)

8.ธนาคารไทยพาณิชย์

6.575%

วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (กรณีทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.620% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566​)

*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***

8 ธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ยต่ำที่สุด

1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) มีผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 1.99% สำหรับ ผู้ประกันตน (มาตรา 33) ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี = 1.99 % ต่อปี (ผ่อนชำระนานสูงสุด 40 ปี) และให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อหลักประกัน สำหรับผู้ยื่นกู้ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2565 – 31 มกราคม 2567

ทั้งนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่ร่วมกับนโยบายรัฐ โครงการบ้านจัดสรรที่ธนาคารกำหนด ตลอดจน โครงการสำหรับผู้สูงอายุ และสินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น โดยจะมีระยะเวลาในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด และสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.400% (ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2566)

2.ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.25% โดยมีเงื่อนไข คือ โครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบ้านใหม่จาก บริษัทพัฒนาอสังหาฯ กลุ่มพิเศษที่ธนาคารกำหนด (บริษัทฯ พันธมิตร) และต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมกับ ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) กำหนดประกอบไปด้วย

โครงการบ้านและคอนโดจากแสนสิริ, โครงการบ้านและคอนโดจากอนันดาฯ และโครงการบ้านและคอนโดจากเอพี (ไทยแลนด์) เป็นต้น

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.180% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)

3.ธนาคารออมสิน (GSB)

ธนาคารออมสิน (GSB) นอกจากสินเชื่อที่ร่วมกับมาตรการรัฐแล้ว ทางธนาคารยังมีผลิตภัณ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ ที่หลากหลายขึ้น อาทิ สินเชื่อเคหะสำหรับบุคคลทั่วไป และ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ / MOU ที่มี่วงเงินกู้สินเชื่อเคหะตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำสุดอยู่ที่ 3.34% แบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก MRR-3.855% และ ปีที่ 2-3 = MRR-2.805% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ

ส่วนสำหรับ สินเชื่อเคหะสำหรับกลุ่มบุคคลทั่วไป วงเงินกู้สินเชื่อเคหะต่ำกว่า 10 ล้านบาท ขึ้นไป มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.54% เท่านั้น แบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก MRR-3.855% และ ปีที่ 2-3 = MRR-2.805% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อทั้งหมดให้วงเงินสูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินหลักทรัพย์ แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.495% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)

4.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นสถาบันทางการเงินที่มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อกู้บ้าน คอนโด และทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายมากที่สุด โดยให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.38% แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ 1 ปีแรก = MRR-4.65% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.80% และแบบที่ 2 ปีแรก = MRR-4.40% ปีที่ 2 = MRR-4.15% และปีที่ 3 = MRR-1.70%

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่ 3.38% ของ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) มีเงื่อนไขในการขอสินเชื่อบ้าน คือ ผู้กู้สินเชื่อต้องเป็นกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ คือ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ และนักบิน หรือ พนักงานประจำที่มีเงินเดือนมากกว่า 200,000 บาท และต้องทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ นอกจากนั้น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะมีระยะเวลาในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด และสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)

5.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อยู่ที่ 3.53% สำหรับคอนโดที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% ส่วน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด อาคารพาณิชย์ และโฮมออฟฟิศ ที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ (แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์) และ ลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ (สำหรับผู้มีเงินฝากและ/หรือเงินลงทุนกับธนาคาร 5 ล้านบาทขึ้นไป) ตลอดจน คู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน ธนาคารให้วงเงินสูงสุด 90% ของราคาประเมิน (85% ของราคาประเมินสำหรับห้องชุดพักอาศัย)

สำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน จะมีความแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ การขอกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันสำหรับคู่เพื่อน ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันนั้นแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้ แต่จะพิจารณาจากรายได้ ศักยภาพในการชำระคืน และเครดิตของผู้กู้ทั้ง 2 ท่าน รวมถึงการตรวจสอบเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งนี้ ผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดา
  • สัญชาติไทย
  • อายุ 27 – 65 ปี
  • พนักงานประจำ อายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว)
  • ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบธุรกิจมาแล้ว ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป
  • ผู้กู้หลักต้องมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเมื่อรวมรายได้ของผู้กู้ร่วมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากพนักงานขาย

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566)

6.ธนาคารกรุงไทย (KTB)

สำหรับลูกค้าทั่วไป กรณีขอสินเชื่อ แบบทำประกัน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.60% โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยเดือน 1-3 = 0.66%

เดือน 4-12 = MRR – 3.00% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR – 3.00% ส่วน กรณีการขอสินเชื่อ แบบไม่ได้ทำประกัน ของ ธนาคารกรุงไทย มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.69% โดยมีอัตราดอกเบี้ยเดือน 1-3 = 0.66% เดือน 4-12 = MRR – 2.90% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR – 2.90%

ทั้งนี้เอง ธนาคารกรุงไทย ยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่าง สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.25% ในกรณีของการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ โดยคิดเป็นดอกเบี้ยปีแรก = 1.50% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.75% และความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านของ ธนาคารกรุงไทย (KTB) คือ มีระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 40 ปี

นอกจากนั้น ธนาคารกรุงไทย ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน สําหรับ ผู้ซื้อทรัพย์สิน พร้อมขาย (NPA) ของธนาคาร ที่ยื่นคําขอสินเชื่อในปี 2565 ทั้งในงานมหกรรมและนอกงานมหกรรม โดยมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประเมินราคาหลักทรัพย์ประกัน และมีระยะเวลาให้กู้สูงสุด 40 ปี ในกรณีของการทำประกัน MRTA หรือ GLT SP (เติมวงเงิน) ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และทำประกันอัคคีภัย ไม่ต่ำกว่า 5 ปี มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.24% เท่านั้น

อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินให้ MRR = 6.870% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)

7.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)

สำหรับ ธนาคารกสิกรไทย แบ่งผลิตภัณฑ์การขอสินเชื่อบ้าน 2 รูปแบบ คือ สำหรับพนักงานที่มีรายได้ประจำ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 6.53% โดยมีเงื่อนไข คือ ลูกค้าต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และเป็นรายได้ประจำ ส่วนสินเชื่อบ้านสำหรับ ผู้ประกอบการ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 7.03% โดยมีเงื่อนไข คือ ลูกค้าต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และมีวงเงินกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักประกัน

นอกจากนั้น ธนาคารกสิกรไทย ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 6 เดือน กู้เต็ม 100% สำหรับ กู้ซื้อทรัพย์สินรอการขาย ของธนาคารกสิกรไทย ไม่ว่าจะบ้าน ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำสุดอยู่ที่ 4.02% สำหรับการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ โดยในปีแรกมีอัตราดอกเบี้ย = เดือนที่ 1-6 = 0% / เดือนที่ 7-12 = MRR-1.98% ปีที่สองและปีที่สาม = MRR-1.73%

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.600% (ณ วันที่ 30 มกราคม 2566​)

8.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ทั้งนี้เอง ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับทั่วไปที่น่าสนใจ โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% จากราคาประเมินหลักประกัน กรณีลูกค้าโครงการ / ลูกค้าองค์กร จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือประเภทองค์กร

โดยผลิตภัณฑ์อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านใหม่ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ 1 (ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่า 70% ของวงเงินกู้) มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด 3 ปีแรกอยู่ที่ 6.575% และแบบที่ 2 (ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ) มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด 3 ปีแรกอยู่ที่ 6.620%

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.620% ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566​)

กรณีตัวอย่าง : ช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000

หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน

***คำนวณเบื้องต้นจากสมมุติ*** โดยใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.89% ตลอดปีที่ 1-3

กู้ซื้อบ้านกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 2.89% โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 347,196.69 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 156,803.34 บาท

การคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามกรณีตัวอย่างด้านบนเป็นการคำนวณเบื้องต้น 3 ปีแรกเท่านั้น

ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน มูลค่ามโหฬาร กว่าที่เราคิด

การมีบ้านเป็นของตัวเอง คือความฝันของใครหลายคน

แต่กว่าจะทำงานได้เงินเดือนและเก็บออม ต้องใช้เวลาหลายปี

ดังนั้น “การกู้ซื้อบ้าน” จึงเป็นทางเลือกยอดฮิตสำหรับคนอยากมีบ้าน

แต่รู้หรือไม่ว่า การที่เรากู้ซื้อบ้านหลังหนึ่ง แล้วผ่อนในระยะยาว

เราอาจจะโดนดอกเบี้ยกัดกิน เป็นมูลค่าสูงกว่าที่คิด

เราลองมาดูตัวอย่างกัน

หากเราอยากจะกู้ซื้อบ้านด้วยวงเงิน 3,000,000 บาท

โดยมีระยะเวลาในการผ่อนทั้งหมด 30 ปี และดอกเบี้ย MRR เท่ากับ 5.95%

สำหรับ MRR นั้น ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ ที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บจากลูกค้าที่มีเครดิตดี เช่น สินเชื่อผู้อยู่อาศัย และสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

เมื่อเราลองนำเงินต้น มาคำนวณรวมกับดอกเบี้ย ที่เราต้องจ่ายคืนธนาคารทั้งหมด

จะเท่ากับ 6,440,468 บาท แบ่งออกเป็น

-เงินต้น 3,000,000 บาท

-ดอกเบี้ย 3,440,468 บาท

จะเห็นได้ว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ย มูลค่ารวมกัน 30 ปี มากกว่าเงินก้อนที่เรานำมาซื้อบ้านเสียอีก ซึ่งเราจะมีภาระต้องจ่ายค่าบ้านให้ธนาคาร คิดเป็นมูลค่า 17,890 บาท เป็นประจำทุกเดือน

โดยจำนวนเงิน ที่เราต้องผ่อนรายเดือนนี้ ก็จะถูกนำมาลดดอกเบี้ยก่อน แล้วจึงจะถูกนำไปลดเงินต้น

ขอยกตัวอย่างแบบนี้

ในเดือนที่ 1 จำนวนดอกเบี้ยที่เราต้องผ่อน

ก็คือ 14,875 บาท และ 3,015 บาทที่เหลือ จะถูกนำไปลดเงินต้นที่เรากู้ยืมมา

โดยยิ่งเรามีเงินต้นจากการกู้เหลืออยู่เยอะ ยอดผ่อนดอกเบี้ยรายเดือน ก็จะเยอะตามไปด้วย และถ้าเราเลือกผ่อนเดือนละ 17,890 บาทอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการโปะเพิ่มเลยในแต่ละเดือน

เราจะต้องผ่อนไปจนถึงเดือนที่ 221 หรือปีที่ 18 ของการผ่อน ธนาคารถึงจะเริ่มหักเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ย

โดยในเดือนนี้ ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเหลือเพียง 8,938 บาท และยอดหักเงินต้นจะเท่ากับ 8,952 บาท

คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วในปีที่ 18

ยอดเงินต้นที่เราต้องผ่อน จะเหลือเท่าไร ?

คำตอบคือ 1,793,847 บาท..

พูดง่าย ๆ ก็คือ เราผ่อนบ้านมาแล้ว 18 ปี

จำนวนเงินต้นที่เราผ่อนไปนั้น ยังลดลงไม่ถึงครึ่งหนึ่งเลย

แล้วทำไมเราถึงใช้เวลาที่เหลืออีกแค่ 12 ปี ในการผ่อนเงินจำนวน 1,793,847 บาท

ได้หมดเร็วกว่าช่วงเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ที่เงินต้นลดลงไปไม่ถึงครึ่งหนึ่ง

สาเหตุก็มาจากจำนวนเงินต้นนั่นเอง

ในปีแรก เรามีเงินต้นที่จะต้องผ่อนธนาคารจำนวน 3,000,000 บาท ทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยในปริมาณที่มาก

แต่ในปีหลัง ๆ เงินต้นได้ลดลง ทำให้ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย

จึงทำให้เราสามารถผ่อนเงินต้นจำนวนที่เหลืออยู่นี้ พร้อมดอกเบี้ยได้หมด ภายในเวลา 12 ปีที่เหลืออยู่นั่นเอง

ดังนี้แล้ว การที่เราจะกู้ซื้อบ้านนั้น เงินดาวน์เริ่มต้น และการโปะเพิ่มรายเดือนที่เพิ่มขึ้นมา จะยิ่งช่วยให้เราผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น

เพราะส่วนที่เพิ่มเติมมาเหล่านี้ จะช่วยตัดเงินต้นให้เรา ก่อนจะถูกนำมาคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไป และทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยในแต่ละเดือนได้น้อยลงด้วย

หรือเราอาจจะใช้วิธีการรีไฟแนนซ์มาช่วยด้วย

ก็จะยิ่งช่วยทำให้การผ่อนบ้านของเรา มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน

โดยการรีไฟแนนซ์ก็คือ การที่เรายื่นขอกู้สินเชื่อกับธนาคารแห่งใหม่ เพื่อไปปิดหนี้บ้านกับธนาคารเดิม

โดยธนาคารแห่งใหม่นี้ จะต้องช่วยให้เราจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่น้อยกว่าเดิมได้

ทั้งหมดนี้ก็คือ สิ่งที่ผู้กู้ซื้อบ้านทุกคนต้องเจอ และควรศึกษาให้พร้อม เพราะไม่เช่นนั้น เงินที่เราผ่อนไปในแต่ละเดือน โดยเฉพาะในปีแรก ๆ จะแทบไม่ได้ช่วยให้เงินต้นของเราลดลงเลย..

เลือกประกันชีวิตแบบไหนเหมาะกับคุณ

=====================

ขายไอเดีย แหล่งรวมคอนเทนต์ความรู้ออนไลน์ แชร์บทความนี้ให้คนที่คุณรักและหวังดีได้อ่านด้วยนะค่ะ กดแชร์ที่ปุ่มไอคอนด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ