คนรวยที่สุดของไทยคือใคร

10 อันดับคนรวยของไทย ปี 2023 มีใครไปดูกัน 

คนรวยของไทย มีใครบ้างไปดูกัน

“เรียบง่าย แต่ได้ไอเดีย 

ที่ Kaiidea.com

คนรวยที่สุดในไทย

ปัจจุบัน นิตยสารฟอร์บส์ รายงานว่า  มีมหาเศรษฐี คนรวยของไทย 21 คนที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา มหาเศรษฐีสองรายที่มีเปอร์เซ็นต์ความร่ำรวยเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการกลับมาของนักช้อปต่างชาติ หนึ่งในนั้นคือ คุณ อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว กลับมาติดในรายชื่อสิบอันดับแรกในอันดับ 8

    ขณะที่ผู้ที่หลุดจากรายชื่อสิบอันดับแรกหนีไม่พ้น นักธุรกิจสี ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ และครอบครัว ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิตกลงมากที่สุดเกือบร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับผู้ติดอันดับในทำเนียบ อันเนื่องมาจากการถือหุ้นของ stark 

10 อันดับ มหาเศรษฐีคนรวยของไทย ประจำปี 2023 มีดังต่อไปนี้


อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3.4 หมื่นล้านเหรียญ / 1.18 ล้านล้านบาท

แหล่งความมั่งคั่ง: อาหารและเครื่องดื่ม

อันดับ: คงที่ 

    เจ้าของอาณาจักรธุรกิจเกษตรเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งล่าสุดได้มีการจับมือกับ Toyota เพื่อพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกใหม่โดยใช้จากก๊าซชีวภาพจากฟาร์มในเครือซีพี นอกจากนี้บริษัทในเครือหลายๆ แห่งต่างปรับตัวและยกระดับด้านธุรกิจอย่างคึกคึก อาทิ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือซีพีก็เพิ่งประกาศรีแบรนด์ใหม่ในรอบ 10 ปี ขยายตลาดแนวราบ เจาะกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ 

อันดับ 2 เฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3.34 หมื่นล้านเหรียญ / 1.16 ล้านล้านบาท

แหล่งความมั่งคั่ง: อาหารและเครื่องดื่ม

อันดับ: คงที่

การถือครองหุ้นของตระกูลที่สัดส่วนหุ้นรวมกัน 51% ใน บริษัท Red Bull GmbH ถือเป็นแหล่งความมั่งคั่งหลักของตระกูล โดยมีจุดเริ่มต้นจากเครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” ที่มี เฉลียว อยู่วิทยา เป็นผู้ก่อตั้ง

    ขณะที่กลุ่มธุรกิจ TCP นำโดย สราวุฒิ อยู่วิทยา บุตรชายคนเล็กของเฉลียว ยังคงเดินหน้าประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก THAIFEX-Anuga Asia 2023 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “Energizing a Better World for All…ปลุกพลังเพื่อวันที่ดีกว่า”

    ในงานแสดงครั้งนี้ TCP ได้เปิดตัวไลน์สินค้าใหม่ ได้แก่ แบรนด์ FarmZaa และ Planett นอกจากนี้ยังมีการแนะนำสินค้าอื่นๆ เพื่อเน้นย้ำว่าทางบริษัทไม่ได้มีดีแค่กระทิงแดงเท่านั้น

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี

​มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 1.36 หมื่นล้านเหรียญ / 4.73 แสนล้านบาท

​แหล่งความมั่งคั่ง: เครื่องดื่ม

​อันดับ: คงที่​

    จากจุดเริ่มต้นในการรวมธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยเป็นกลุ่มบริษัทในปี 2003 เดินหน้าขยายอาณาจักรเครื่องดื่มสุดยิ่งใหญ่ในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์และอาหาร

    อีกฝั่งหนึ่ง เจ้าสัวเจริญยังนั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่าง Asset World ที่เดินหน้าสร้างการเติบโตไม่หยุดยั้ง โดยล่าสุดกำลังเตรียมเข้าลงทุนหุ้นโรงแรมหรูในนิวยอร์ก Plaza Athenee

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 1.24 หมื่นล้านเหรียญ / 4.32 แสนล้านบาท

แหล่งความมั่งคั่ง: ค้าปลีก

อันดับ: ขึ้นจากอันดับ 5

    ตระกูลใหญ่เบื้องหลังกลุ่มธุรกิจทรงอิทธิพล Central Group เจ้าของห้างสรรพสินค้า ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ โดยมีแม่ทัพใหญ่คือทศ จิราธิวัฒน์

    เมื่อเร็วๆ นี้ วัลยา จิราธิวัฒน์ ซีอีโอหญิงแห่งเซ็นทรัลพัฒนาที่ดำเนินกิจการค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ก็ได้คว้ารางวัล Thailand Top CEO of The Year 2023 อันทรงเกียรติ ตอกย้ำความสามารถของผู้นำหญิงวัย 61 ปีผู้นี้

    ล่าสุด เซ็นทรัลได้มีการเปิดตัวแอปพลิเคชัน “C-Verse” เปิดประสบการณ์ชอปปิ้งเสมือนจริงที่ไม่สามารถหาได้ที่ไหนมาก่อน โดยจับมือกับ HUAWEI ซุ่มพัฒนากันมาถึง 1 ปี

อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 1.13 หมื่นล้านเหรียญ / 3.94 แสนล้านบาท

แหล่งความมั่งคั่ง: พลังงาน

อันดับ: ลงจากอันดับ 4

    เจ้าของ Gulf Energy ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานแห่งประเทศไทยผู้ไม่หวาดหวั่นแม้หุ้น GULF ดิ่งหนัก 7.77% ต่ำสุดในรอบหกเดือนหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยสารัชถ์ได้ทุ่มเงินกว่า 800 ล้านบาทเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวต่อเนื่อง

    Gulf Energy ยังเดินหน้าแผ่ขยายความยิ่งใหญ่ไปลงทุนในโรงงานไฟฟ้าหลายแห่งนอกประเทศ ไม่ว่าจะเวียดนาม อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และโอมาน

อันดับ 6 วานิช ไชยวรรณ

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3.9 พันล้านเหรียญ / 1.36 แสนล้านบาท

แหล่งที่มา: การเงินและการลงทุน

อันดับ: ขึ้นจากอันดับ 8

    วานิช ไชยวรรณ มหาเศรษฐีด้านการเงินและการลงทุน มีแผนเตรียมนำธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย เข้าตลาดหุ้นในช่วงปลายปี 2566 โดยใช้ชื่อย่อหุ้นว่า CREDIT หลังจากปีที่ผ่านมา เขาได้ผลักดันบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ธุรกิจประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2485 จนถึงปัจจุบันมีอายุถึง 81 ปี เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TLI ซึ่งในปีนั้นถือเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์สูงสุด อยู่ที่ 183,200 ล้านบาท ทุบสถิติมูลค่าเสนอขายสูงสุดในอาเซียนนับตั้งแต่ปี 2543

อันดับ 7 ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 3.8 พันล้านเหรียญ / 1.32 แสนล้านบาท

แหล่งที่มา: ธุรกิจแพทย์

อันดับ: คงที่

    ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้ง-เจ้าของอาณาจักร BDMS ที่ถือครองโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่สุดในไทยถึง 47 แห่ง เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล และยังเป็นเจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส รวมถึงถือครองหุ้นในธุรกิจโรงแรม และสื่อ อย่าง PPTV ที่ล่าสุดได้เข้าถือหุ้นช่อง ONE  25% ทั้งนี้ ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

    หมอปราเสริฐได้เทขายหุ้น BDS จำนวน 16 ล้านหุ้น รับเงินเข้ากระเป๋าไป 472 ล้านบาท และขายหุ้นอีกระลอก 12 ล้านหุ้น ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน รับเงินไปอีก 343 ล้านบาท

อันดับ 8 อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว

มูลค่าทรัพย์สิน: 3.5 พันล้านเหรียญ / 1.21 แสนล้านบาท

แหล่งที่มา: แฟชั่น & ค้าปลีก

    สัญญาณการกลับของธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศเป็นจังหวะเดียวกันกับการเดินหน้าสร้างการรับรู้ถึงกลุ่มธุรกิจทั้ง 8 ในเครือ ล่าสุดเปิดตัวเคมเปญเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มคนรุ่น Gen Y และ Gen Z เพิ่มเติมฐานลูกค้าเดิม

    King Power ยังคงถืองานประมูลดิวตี้ฟรี ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” เป็นจำนวน 3 สัมปทาน ใน 4 สนามบิน ได้แก่ การบริหารจัดการร้านค้าดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ รวมไปถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ เป็นจำนวน 10 ปี 6 เดือน จนถึง 31 มีนาคม 2574

    นอกจากธุรกิจหลักแล้วเขายังคงสานต่อทีม Leicester City และกีฬาอื่นๆ ล่าสุุดสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ประกาศเซ็นสัญญากับ คิง เพาเวอร์ มาเป็นสปอนเซอร์ชุดแข่งของสโมสรอีกครั้งโดยจะเริ่มต้นในฤดูกาล 2023/24

เปลี่ยนเป็น FBS Trade Online ในฤดูกาล 2021/22

อันดับ 9 สมโภชน์ อาหุนัย และครอบครัว

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: : 3 พันล้านเหรียญ / 1.04 แสนล้านบาท

แหล่งความมั่งคั่ง: พลังงาน

อันดับ: ลงจากอันดับ 6

    สมโภชน์ อาหุนัย และครอบครัว ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานสะอาดแบบครบวงจร ทั้งพลังแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังลม และยังมีบริษัทย่อยที่ผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัทได้ประกาศแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 โดยคาดว่าจะมีรายได้รวมราว 40,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ระดับ 27,546 ล้านบาท ซึ่งรายได้กว่า 50% จะมาจากธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ ส่วนที่เหลือมาจากธุรกิจอื่น อาทิ ธุรกิจไบโอดีเซล ธุรกิจโรงไฟฟ้า รวมทั้งธุรกิจพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่

อันดับ 10 ครอบครัวโอสถานุเคราะห์

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ: 2.5 พันล้านเหรียญ / 8.70 หมื่นล้านบาท

แหล่งความมั่งคั่ง: อาหารและเครื่องดื่ม

อันดับ: คงที่

    ครอบครัวโอสถานุเคราะห์ เจ้าของธุรกิจ บริษัทโอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ซึ่งหากวิเคราะห์โครงสร้างผู้ถือหุ้นปัจจุบัน กลุ่มตระกูลโอสถานุเคราะห์ จะได้รับเงินปันผลเกือบ 50% ของมูลค่าเงินปันผลพิเศษที่จ่ายทั้งหมด โดย “นิติ โอสถานุเคราะห์” บิ๊กบอสของตระกูล เจ้าของฉายา “นักลงทุนในตำนาน” ที่ติดอันดับเศรษฐีหุ้นเมืองไทยระดับ Top5 จะได้รับเงินปันผลมากสุด 578 ล้านบาท จากการถือหุ้นจำนวน 723 ล้านหุ้น ซึ่งบริษัทฯ มีกำหนดจะจ่ายเงินปันผลดังกล่าวในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 

อ้างอิงที่มา: Forbes Thailand

และนี้ก็คือ โฉมหน้าคนรวยของไทยทั้ง 10 อันดับ รายงานและจัดอันดับจาก นิตยสารฟอร์บส์ จะเห็นได้ว่าคนรวยของบ้านเรานั้น จะเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ซะเป็นส่วนใหญ่รองลงมาก็จะเป็นธุรกิจการเงิน การแพทย์ และพลังงาน นั้นเองค่ะ 


>> 10 คนรวยระดับโลกคือใคร?

>> 5 นิสัยของคนรวยที่เราทำตามได้

447 Views จำนวนผู้เยี่ยมชม