ทำงานฟรีแลนซ์

คนไทยเป็น “ฟรีแลนซ์-ทำงานอิสระ” พุ่ง! 20 ล้านคน รายได้เยอะ แต่อ่อน “การเงิน”

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยว่า ปัจจุบัน การทำงานอิสระ ในรูปแบบ “ฟรีแลนซ์” และการทำงานหลายอาชีพพร้อมกัน หรือ ที่เรียกว่า Multi-Jobbers

คนไทยเป็น “ฟรีแลนซ์” พุ่ง! 20 ล้านคน คอนเทนต์ครีเอเตอร์-อินฟลูเอนเซอร์ มาแรง พบรายได้เยอะ แต่ขาดความรู้ทางการเงิน ขณะ ตลท. ชี้ งานโปรเงินปัง แท้จริง สร้างได้! เปิดเคล็ดลับสู่ อิสรภาพทางการเงิน ฉบับอาชีพอิสระ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยว่า ปัจจุบัน การทำงานอิสระ ในรูปแบบ “ฟรีแลนซ์” และการทำงานหลายอาชีพพร้อมกัน หรือ ที่เรียกว่า Multi-Jobbers มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย แต่กลุ่มอาชีพดังกล่าว ก็มาพร้อมกับความท้าทายด้านการเงิน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของรายได้และข้อจำกัดของสวัสดิการ

สอดคล้องกับข้อมูลของ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) พื้นที่รวม สื่อกลาง ของ อินฟลูเอนเซอร์ และการตลาดดิจิทัล ระบุถึง สถานการณ์ งานฟรีแลนซ์ ในประเทศไทย ว่า ณ ปี 2566 จากจำนวนผู้มีงานทำ 39.22 ล้านคน พบ มีผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ มากถึง 52.19% หรือ 20.46 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 

โดยแบ่งเป็น ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ประกอบอาชีพอิสระ ทำงานไม่มีนายจ้าง) ราว 10.98 ล้านคน และ มีกลุ่มที่ลงทะเบียน เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 2.60 ล้านคน 

ขณะฟรีแลนซ์ ที่ลงทะเบียนกับ Fastwork.co มีราว 60,000 คน โดย 75% ทำงานฟรีแลนซ์ในรูปแบบของงานพาร์ทไทม์ เป็นช่องทางหารายได้เสริม และ มีอีก 25% ทำงานเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว โดยกลุ่มคนหลากหลายอายุ ตั้งแต่ต่ำกว่า 20 ปี ไปจนถึง อายุมากกว่า 61 ปีขึ้นไป แต่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนอายุ 21-40 ปี มากที่สุด 

ฟรีแลนซ์-อาชีพอิสระ หลายประเภท 

ทำงานประจำเป็นหลัก แต่รับงานฟรีแลนซ์ควบคู่ไปด้วย 

รับงานฟรีแลนซ์ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจของตนเอง 

ทำงานฟรีแลนซ์ ไม่มีนายจ้างประจำ และทำอาชีพอื่นด้วย 

ทำงานฟรีแลนซ์ที่ทำสัญญาเป็นรายโครงการ หรือรายเดือน อาจมี หรือไม่มีนายจ้างประจำ ทำธุรกิจส่วนตัว 

Tellscore เจาะลึกกลุ่มอาชีพ Multi-Jobbers และฟรีแลนซ์ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ที่ร่วม กับตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ปัจจุบันมีรูปแบบการทำงานหลากหลายขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สอดคล้องกับข้อมูลพบว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานในปัจจุบันมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ในไทยมากถึง 9 ล้านคน นับเป็นอาชีพที่มาแรงและเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ 

แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีความแน่นอนของรายได้ อีกทั้งยังขาดเรื่องการเข้าถึงสวัสดิการสังคม ความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารเงิน วินัยการออม และการวางแผนภาษีต่างๆ 

โจทย์ท้าทายทาง “การเงิน” ของฟรีแลนซ์ 

รายได้หลายช่องทาง แต่เข้ามาแบบไม่แน่นอน

  • รายได้สูง แต่ไม่สม่ำเสมอ
  • มีรายได้ ต้องเสียภาษีเพิ่มทุกปี 
  • เจอเหตุฉุกเฉิน ไม่มีสวัสดิการ 
  • ไม่กล้าลงทุน เงินไม่เย็นพอ 
  • ขาดความรู้ทางการเงิน 

โดยประเด็น ในแง่ความรู้ทางเงิน พบว่า ยังมีความเข้าใจผิดในหลายเรื่อง โดยเฉพาะ เรื่องที่เกี่ยวกับประกันชีวิต, ดอกเบี้ยทบต้น และเทคนิคการใช้บัตรเครดิต ขณะความรู้การลงทุนในหลักทรัพย์ มีผู้รอบรู้เพียง 19.47% เท่านั้น 

โดยส่วนใหญ่ มีคะแนนในระดับเริ่มรู้ และระดับเรียนรู้เท่านั้น ตั้งแต่เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการซื้อ-ขายหุ้น, การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น และความเข้าใจเกี่ยวกับ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ส่วนความรู้การลงทุนในการเลือกหุ้น ตอบผิดบ่อย ในแง่การประเมินมูลค่าหุ้นจากเงินปันผล, การใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์บริษัท และไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์หุ้น 

กลายเป็นโจทย์ ที่ต้องเร่ง เสริมทักษะทางการเงิน ท่ามกลางความท้าทายจากความไม่แน่นอนของรายได้และข้อจำกัดของสวัสดิการ เพื่อให้เกิดชีวิตอิสระ งานโปรเงินปังได้

เปิดเคล็ดลับสู่อิสรภาพทางการเงิน ฉบับอาชีพอิสระ

งานฟรีแลนซ์

ทั้งนี้  ปัจจุบัน ตลท. เปิดตัวแคมเปญ “Happy Money, Happy Jobbers ชีวิตอิสระ งานโปรเงินปัง” เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์ และ Multi-Jobbers มีความรู้พื้นฐานการวางแผนการเงิน วางแผนประกัน และบริหารภาษี 

เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับกลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์และ Multi-Jobbers ช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเพิ่มความมั่งคั่ง เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนได้ คาดว่าปีนี้จะมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเรียนรู้ 3,000 คน

ครอบคลุมเนื้อหาหลักๆ เปรียบเป็น เคล็ดลับสู่อิสรภาพทางการเงิน ฉบับอาชีพอิสระ ได้แก่ 

เป้าหมายชีวิต = เป้าหมายที่ปรับได้ตามช่วงชีวิต เพราะหาก วางแผนการเงินเป็น จะช่วยรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในชีวิตได้

สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการเงิน แม้มีงบจำกัด แต่หากเลือกได้อย่างเหมาะสม จะช่วยคุ้มครองเงินทองที่เก็บมา + ยกระดับความเป็นอยู่ของเราได้ 

มีเทคนิค + ใช้เครื่องมือเป็น = วางแผนการเงินที่ดีให้ตัวเองอย่างยั่งยืน ทั้งวางแผนประหยัดภาษี วางแผนซื้อประกัน วางแผนออมและลงทุน

อิสรภาพการเงิน ใครๆ ก็มีได้ เพราะรายได้มากหรือน้อย ไม่สำคัญเท่าออมให้มากที่สุด ออมให้ไว และออมถูกที่ เพื่อสร้าง Passive Income ที่พอเพียง

อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญของ “อาชีพอิสระ” ก็คือ “การบริหารเงิน” ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการบริหารเงินของตนเอง 

“เงินสด” สำคัญที่สุด ง่ายที่สุดก็คือ การเก็บไว้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น ถ้ามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรจะต้องมีเงินสดไว้ในบัญชีออมทรัพย์ประมาณ 60,000 บาท ให้อุ่นใจ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้ไม่ต้องกังวล

อย่าลืมทำ “ประกันสุขภาพ” Freelance ยังไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลจากต้นสังกัดเหมือนมนุษย์เงินเดือนเพราะฉะนั้นหากป่วย ลา มาสาย เท่ากับขาดหรืออาจเสียเครดิตก็เป็นได้ ดังนั้น “ประกันสุขภาพ” จึงเป็นสิ่งจำเป็น

สูตรแบ่งเงิน 4 ส่วน ส่วนที่ 1: ให้เงินทำงาน (นำไปต่อยอด เงินต่อเงิน) ส่วนที่ 2: ค่าใช้จ่ายประจำวัน (ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ) 

ส่วนที่ 3: เงินฉุกเฉิน (เสริมสภาพคล่อง)  

ส่วนที่ 4: จิปาถะ (ท่องเที่ยว เสริมความรู้ หนังสือ ฯลฯ)

ลงทุน “ให้เงินทำงาน” อย่าลืมนำ “เงิน” ที่เราต้องทุ่มเทให้ได้มันมาไป “ทำงานต่อ” ด้วยการลงทุน ให้เกิดดอกผลจากการที่เรา “ให้เงินทำงาน” ผ่านวิธีการ นำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เราถนัด อาจเป็นหุ้น อสังหาฯ เพชร ทองคำ ฯลฯ หรือ “กองทุนรวม”

ทำทุกอย่างให้ง่าย และเป็นอัตโนมัติ เพราะ เวลาของ Freelance เป็นเงินเป็นทอง ดังนั้น อะไรที่ช่วยลดขั้นตอนการทำธุรกรรมทางการเงินได้ ควรทำได้ ทั้งธนาคารออนไลน์ ลงทุนแบบอัตโนมัติ (ตัดบัญชีรายเดือน) ฯลฯ แล้วเอาเวลาที่เหลือ ไปเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาตัวเอง เป็นต้น 

อ้างอิงที่มา:ไทยรัฐ

ไอเดียอื่นๆ ที่น่าสนใจ

=>> สูตรบริหารเงินให้รวย!!

=>> วางแผนแบบนี้ มีเงินใช้ไปตลอด


ติดตาม💡ขายไอเดียได้ที่>> Twitter และ Facebook Page

381 Views จำนวนผู้เยี่ยมชม