ทำงานที่บ้าน

8 เคล็ดลับพัฒนาตนเอง ให้ชำนาญและสำเร็จในสายอาชีพ 2024

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว คนทำงานรุ่นใหม่อย่างเรา ก็ต้องปรับตัว

สถานการณ์ในปัจจุบัน ทำเอาหลายๆ คนที่ทำงานต้องวิตกกังวล ว่าจะมีงานทำต่อหรือไม่ หรือต้องพักงานยาวเพราะสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่าช่วงนี้หลายคนในวัยทำงานอาจมีความทุกข์หลายอย่างเกิดขึ้นในชีวิต เช่น เครียด หดหู่ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ร่างกายอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ  จนทำให้เกิดความกังวลว่าตัวเองมีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือเปล่า!   แต่แท้จริงแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดถึงภาวะซึมเศร้าได้อย่างชัดเจนเสียทีเดียว แต่อาจจะเป็นตัวชี้วัดว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout) ในการทำงานนั้นเองค่ะ 

  ซึ่งอาการหมดไฟ คือ ภาวะของอารมณ์ที่เกิดจากความเครียดสะสม การทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แรงกดดัน ความเครียด ได้รับการพักผ่อนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คุณก็จะรู้สึกหรือว่ามีอาการเหล่านี้

  1.  เหนื่อยล้าทางอารมณ์ ตื่นมาก็รู้สึกไม่อยากมาทำงาน อยากลางาน หมดแรง เหนื่อยเรื้อรัง
  2.  ไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่มีความกระตือรือร้นในการริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ไม่อยากเข้าสังคม เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  3.  มองคุณค่าของตนเองในเชิงลบ ไม่รู้สึกภูมิใจในผลงานของตัวเอง ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในผลงานที่ทำ

ผลเสียของการหมดไฟในการทำงานก็คือ 

  1.  ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ต้องทำงานล่วงเวลาอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้ตารางชีวิตในการการกิน การนอน ถูกรบกวนไม่เป็นเวลา ไม่สม่ำเสมอ
  2.  ลักษณะงานที่ไม่มีเป้าหมาย ทำไปเรื่อย ๆ ไร้จุดสิ้นสุด

 ไอเดียต่อไปนี่คือเคล็ดลับ ที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่น 

1.พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี

   การรู้จักและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องมือออนไลน์ หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับ AI และ Big Data เพราะทักษะเหล่านี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับคุณในตลาดแรงงานได้อย่างมาก

2.เรียนรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

   โลกของการทำงานเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การมีทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจะทำให้คุณสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ

3.สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ (Networking)

   การสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร หรือคนในวงการเดียวกันจะเปิดโอกาสให้คุณได้รับข้อมูลและโอกาสในการพัฒนาอาชีพมากขึ้น การเข้าร่วมงานสัมมนาและการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เช่น LinkedIn สามารถช่วยเสริมสร้างเครือข่ายได้

4.สร้างแบรนด์ส่วนตัว (Personal Branding)

   ในยุคนี้การมีแบรนด์ส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ผ่านบล็อก โซเชียลมีเดีย หรือการทำพอร์ตโฟลิโอที่แสดงถึงความสามารถและความเชี่ยวชาญของคุณ จะช่วยให้คุณโดดเด่นและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

5.การวางแผนการเงินอย่างมีสติ

   การบริหารการเงินเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ การเก็บออมและการลงทุนอย่างชาญฉลาดจะช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ควรศึกษาวิธีการจัดการหนี้สิน การลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม และการทำประกันเพื่อปกป้องทรัพย์สินของคุณ

6.เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร

   การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นทักษะที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารภายในองค์กร หรือการนำเสนอไอเดียและความคิดเห็นของคุณให้กับผู้อื่น การเรียนรู้ทักษะการเขียนและการพูดอย่างชัดเจนและน่าสนใจจะช่วยให้คุณสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น

7.บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

   การบริหารเวลาเป็นสิ่งที่คนทำงานรุ่นใหม่ควรให้ความสำคัญ การจัดลำดับความสำคัญของงาน การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และการใช้เครื่องมือในการบริหารเวลา เช่น แอปพลิเคชันจัดการงาน จะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเครียดได้

8.เสริมสร้างสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

   สุขภาพเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงาน การดูแลสุขภาพจิตและกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีพลังงานและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การออกกำลังกายเป็นประจำ การนอนหลับที่เพียงพอ และการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ

10 ข้อที่คุณควรทำ ให้ตัวเองมีไฟในการทำงาน

1.เปิดใจคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าผู้

ที่สามารถช่วยลดภาระปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หากปัญหาของคุณอาจไม่มีใครช่วยได้ แต่การได้ระบาย พูดคุยความไม่สบายใจออกมา แม้ไม่สามารถทำให้ปัญหานั้นเบาบางลง แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้สภาพจิตใจที่ตึงเครียดนั้นลดลงได้

2.ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

ในช่วงที่ได้พักผ่อนจากการทำงาน เช่นช่วงพักเที่ยง หรือเลิกงาน ลองชักชวน หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่คุณสนใจ อาจจะเป็นการเล่นกีฬา เปลี่ยนสถานที่ทานอาหาร เพื่อให้ในแต่วันที่คิดว่าน่าเบื่อนั้น มีอะไรที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นบ้าง ทั้งยังลดความตึงเครียดจากการทำงานได้อีกด้วย

3.หยุดพัก ลาพักร้อนบ้าง

ออกไปเที่ยวหรือไปในสถานที่ที่อยากไป เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ สร้างความตื่นเต้น ประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับชีวิต ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย จำเจจนเกินไป

4.ฟังเพลง ดูหนังตลก

ดูอะไรที่มันไร้สาระ แต่ทำให้เราหัวเราะเยอะ ๆ อันนี้จะช่วยให้ลดความเครียดได้อย่างมากเลยทีเดียวค่ะ 

5.หากพบว่าตนเองมีสัญญาณของอาการ Burnout อาจเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

เพื่อไม่ให้สุขภาพร่างกายและจิตใจทรุดโทรมไปมากกว่าเดิม เช่น หลังเลิกงานลองไม่คิดถึงเรื่องงานดูบ้าง หากิจกรรมทำเพื่อให้สมองปลอดโปล่ง หรือจะนั่งสมาธิ วาดภาพ ระบายสีอะไรก็ว่ากันไปค่ะ 

6.ดูแลสุขภาพ

เมื่อทำงานหนักเกินไปหรือมีภาระงานมาก อาจทำให้ไม่มีเวลารับประทานอาหารกลางวัน ไม่ได้ออกกำลังกาย นอนน้อย หรือนอนดึก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลงและทำให้รู้สึกหมดไฟเร็วขึ้น การดูแลสุขภาพจึงอาจช่วยให้รับมือกับปัญหา Burnout ได้ ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 7-9 ชั่วโมง/วัน อาจช่วยเสริมสุขภาพร่างกายและการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น และควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายหรือออกกำลังกายเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง/สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ เพราะอาจช่วยคลายความเครียด และช่วยให้สมองได้พักจากการคิดเรื่องงาน ไปสนใจสิ่งอื่นแทน

7.รับประทานอาหารครบทุกมื้ออย่างสม่ำเสมอ

และเลือกรับประทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์ โดยเน้นอาหารที่มีไขมันดีและโปรตีนอาจช่วยให้ร่างกายสงบลงได้ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงกาแฟและน้ำตาล เพราะอาจมีฤทธิ์เพิ่มความเครียดจนทำให้มีอาการแย่ลงได้

8.ทำงานแต่พอดี

อย่าพยายามคิดว่าตนเองเป็นยอดมนุษย์ที่ทำได้ทุกอย่าง แม้ในบางครั้งหัวหน้างานอาจคิดเช่นนั้นก็ตามทำงานให้แล้วเสร็จในเวลาตามเป้าหมายและกำหนดก็พอแล้วค่ะ  ซึ่งหลายคนอาจอยากรับผิดชอบให้งานสำเร็จเรียบร้อยเพื่อสร้างความประทับใจ แต่อย่าลืมว่าร่างกายของมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ และไม่อาจแก้ปัญหาของบริษัทด้วยตัวคนเดียวได้ อีกทั้งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้รู้สึกกดดันและเพิ่มความวิตกกังวลขึ้นได้ด้วย ดังนั้น จึงควรปรึกษากับหัวหน้างานเพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกัน เพราะหากไม่หาทางแก้ ปัญหาอาจคงอยู่อย่างเรื้อรัง จนส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและร่างกายในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

9.หาทางออกเพื่อจัดการกับความเครียด

ความเครียดอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะ Burnout ได้ ให้ลองนึกว่าอะไรบ้างที่ทำให้รู้สึกเครียดหรือทำให้เริ่มหมดไฟ แล้วรีบจัดการและหาวิธีแก้ไขในส่วนดังกล่าว ซึ่งอาจลองปรึกษาหัวหน้างานเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็น หาวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน หรืออาจหาที่ปรึกษาและผู้ที่อาจให้ความช่วยเหลือในด้านนี้ได้ เช่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อน หรือคนรัก เป็นต้น เพื่อให้ช่วยร่วมกันคิดและช่วยให้คำแนะนำในการตัดสินใจ

10.ประเมินตนเองและงานที่ทำอยู่

เพื่อให้ทราบว่าตนเองเหมาะกับงานที่ทำอยู่แล้วหรือไม่ โดยอาจเริ่มจากถามตัวเอง หรือสังเกตตัวเองเกี่ยวกับงานและองค์กรในมุมมองต่าง ๆ เช่น องค์กรมีทางเลือกหรือให้สิทธิในการเสนอแนวทางต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่ การปรับเวลาของตนเองกับองค์กรและการทำงานนอกออฟฟิศเป็นอย่างไร องค์กรมีทางเลือกสำหรับการศึกษาต่อหรือการพัฒนาสู่การเป็นมืออาชีพหรือไม่ แท้จริงแล้วตนถนัดด้านไหนเป็นพิเศษ หรือชอบและรักที่จะทำอะไร เป็นต้น จากนั้นจึงนำคำตอบที่ได้มาประเมินว่าตนเองเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ และควรทำอย่างไร

อาการหมดไฟในการทำงานอาจจะไม่ร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า แต่หากปล่อยไว้นาน โรคซึมเศร้าอาจตามมา ส่งผลให้เป็นปัญหาเรื้อรังของคนวัยทำงาน รีบจัดการตัวเองเพื่อให้มีไฟในการทำงานและใช้ชีวิตอย่างที่คุณต้องการกันดีกว่าค่ะ 

ไอเดียเพิ่มเติม

2,022 Views จำนวนผู้เยี่ยมชม