ขายทอดตลาดบ้านและที่ดิน กรมบังคับคดี

4 ขั้นตอนง่ายๆ ประมูลทรัพย์ที่ดินขายทอดตลาดกรมบังคับคดี 2567

กรมบังคับคดีและวิธีการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดบ้านและที่ดิน

หลายคนในที่นี้คงเคยได้ยินเกี่ยวกับ “กรมบังคับคดี” กันมาบ้างแล้ว หรือใครที่อยากรู้ว่ากรมบังคับคดีคืออะไร วันนี้ไอเดียจะพาคุณไปรู้จักกับกรมบังคับคดีและวิธีการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดบ้านและที่ดิน ไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ ที่ดินขายทอดตลาดกรมบังคับคดี

ไอเดียหลัก
  • ไปทำความรู้จักกับ การขายทอดตลาด กรมบังคับคดีคืออะไร 
  • 4 ขั้นตอนในการเตรียมตัวประมูลทรัพย์ที่ดินขายทอดตลาดกรมบังคับคดี  
  • ประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดคุ้มไหม มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี คืออะไร

การขายทอดตลาด คือ การที่เรานำทรัพย์สินไปจำนองกับเจ้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืม แต่เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินคืนได้ตามกำหนด ลูกหนี้จึงถูกฟ้องร้อง จากเจ้าหนี้  เจ้าหนี้ก็จะนำทรัพย์สินลูกหนี้ ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ไปประมูลขายตามคำสั่งของศาล

ส่วนคำว่าการขายทอดตลาดกรมบังคับคดีนั้นมีความหมายเหมือนกัน แต่กรมบังคับคดี จะเป็นผู้นำทรัพย์สินของลูกหนี้ออกประมูลขายให้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เป็นหลักนั่นเอง ทำให้ทรัพย์สินที่นำมาประมูลมีราคาถูกกว่าปกติมากเลยทีเดียว

4 ขั้นตอนการประมูลทรัพย์ที่ดินขายทอดตลาดกรมบังคับคดี

1. ผู้ประมูลเข้าลงทะเบียน

ในวันประมูล ผู้ประมูลต้องลงทะเบียนกับเจ้าพนักงาน พร้อมวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเป็นหลักประกันและทำสัญญาในการเสนอราคา จึงรับป้ายประมูลและเข้าไปนั่งในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้

2. เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มต้น

ก่อนเริ่มการประมูล เจ้าพนักงานจะอธิบายเงื่อนไขในการประมูลให้ทราบโดยสังเขป และกำหนดราคาเริ่มต้นของบ้านที่จะเปิดประมูลกับกรมบังคับคดี โดยคณะกรรมการหรือเจ้าพนักงานของกรมบังคับคดีจะเป็นผู้กำหนดราคาเริ่มต้นในการประมูลรอบที่ 1 แต่ถ้าไม่มีผู้เสนอราคาในรอบนั้น ราคาเริ่มต้นในรอบที่ 2 จะลดเหลือ 90% ของราคาเริ่มต้น และในรอบที่ 3 จะลดเหลือ 80% ของราคาเริ่มต้น และราคาเริ่มต้นจะเหลือ 70% ของราคาเริ่มต้น ในรอบที่ 4 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีผู้ประมูล

3. ผู้ประมูลยกป้ายเสนอราคา

เมื่อเจ้าพนักงานเปิดประมูล ผู้ที่สนใจสามารถยกป้ายเพื่อขอเสนอราคาตามราคาเริ่มต้น หรือยกป้ายสู้ราคากับผู้ประมูลอื่น โดยเจ้าพนักงานจะเป็นผู้กำหนดว่าจะเพิ่มราคาครั้งละเท่าใด แต่ผู้ประมูลสามารถเพิ่มราคาได้เท่ากับหรือมากกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้

4. เจ้าพนักงานเคาะไม้ให้ผู้ชนะประมูล

เมื่อบ้านถูกประมูลจนได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีก็จะถามหาผู้คัดค้านจากฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (ตัวแทนโจทก์หรือจำเลย) หากไม่มีผู้ใดคัดค้าน เจ้าพนักงานก็จะเคาะไม้ขายบ้านหลังนั้นให้ผู้ชนะประมูล ผู้ชนะประมูลก็ต้องชำระเงินและโอนกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนต่อไป ส่วนผู้แพ้ประมูลก็รับเงินประกันคืนได้ทันที

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนประมูล

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมกับสำเนาและเขียนรับรองถูกต้องแล้ว 1 ฉบับ
  • กรณีที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคล จะต้องมีเอกสารรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 1 เดือน
  • หากต้องการให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทน จะต้องมีเอกสาร ดังนี้

กรณีบุคคลทั่วไป ต้องมีใบมอบอำนาจ ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับอำนาจ เขียนรับรองสำเนาถูกต้อง

  • กรณีนิติบุคคล ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มีอำนาจในนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ เขียนรับรองสำเนาถูกต้อง
  • เงินสด หรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายสำนักงานกรมบังคับคดี เพื่อเป็นหลักประกันในการประมูล จำนวนเงินที่ต้องนำมาเป็นหลักประกัน สามารถแบ่งได้ตามหลักเกณฑ์นี้

ราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท วางหลักประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาประเมิน

  • ราคาประเมิน 500,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 50,000 บาท
  • ราคาประเมิน 1,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 250,000 บาท
  • ราคาประเมิน 5,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 500,000 บาท
  • ราคาประเมิน 10,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 1,000,000 บาท
  • ราคาประเมิน 20,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 2,500,000 บาท
  • ราคาประเมิน 50,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 5,000,000 บาท
  • ราคาประเมิน 100,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกัน 10,000,000 บาท
  • ราคาประเมิน 200,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกันตามที่ผู้ได้รับมอบหมายกำหนด

ยกเว้นผู้เข้าประมูลเป็นผู้มีสิทธิ์ขอหักส่วนได้ใช้แทน เช่น เจ้าหนี้ตามคำสั่งศาล ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา คู่สมรสของลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ที่ไม่ต้องวางหลักประกัน แต่หากทำการซื้อได้แล้ว จะต้องวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คจำนวน 5% ของราคาเริ่มต้นในวันนั้น

ประมูลทรัพย์ บ้านและที่ดินจากกรมบังคับคดีคุ้มไหม

บ้านและที่ดิน ขายทอดตลาดกรมบังคับคดี มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ทำให้มีราคาเริ่มต้นที่ถูกกว่าตามตลาดมาก ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าผู้ซื้อสามารถประมูลแข่งขันได้ในราคาที่ไม่เกินวงเงินที่ตัวเองกำหนดแล้ว แน่นอนว่าการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีจะทำให้สามารถประหยัดเงินได้มากเลยทีเดียว นอกจากนั้นบ้านที่นำมาประมูลบางแห่งก็ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีหรือทำเลที่หาในตลาดได้ยากอีกด้วย แต่บ้านจากการขายทอดตลาด กรมบังคับคดียังมีความเสี่ยงหรือข้อเสียที่ตามมาอีกหลายอย่างเช่นกัน ดังนี้

บ้านประมูลราคาถูก แลกมาด้วยการที่ผู้ซื้อจะได้บ้านตามสภาพจริง ไม่มีโอกาสได้เห็นบ้านก่อน หรือตรวจสอบภายในบ้านโดยละเอียด ไม่มีการรับประกัน ซึ่งถ้าหากผู้ซื้อได้บ้านที่มีความชำรุดเสียหายหรือมีจุดบกพร่องหลายจุดที่แอบซ่อนไว้ จะไม่มีใครเป็นผู้รับผิดชอบจุดบกพร่องเหล่านั้น

หากไม่มีความเชี่ยวชาญในการประมูล อาจถูกคู่แข่งเสนอราคาแข่งกันจนเกินงบที่กำหนดไว้ได้

เนื่องจากเป็นบ้านของลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้อง บางครั้งอาจเกิดปัญหาลูกหนี้ไม่ยินยอมย้ายออกจากบ้านด้วยเหตุผลบางอย่าง หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้จะทำให้ลูกหนี้ยังคงถือสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของบ้านอยู่ ซึ่งอาจสร้างความลำบากใจ และทำให้จำเป็นต้องดำเนินการฟ้องร้อง รวมถึง รอคำสั่งศาลต่อไป

แม้ว่าจะประมูลซื้อบ้านได้ในราคาถูก แต่ผู้ซื้อก็ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อขายบ้านมือสองทั้งหมด ทั้งค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ค่าโอน และอื่นๆ อีกมากมาย

มีโอกาสถูกยึดเงินมัดจำที่วางเป็นหลักประกันไว้ หากไม่สามารถชำระเงินได้ครบถ้วนตามกำหนด

เสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธการกู้สินเชื่อจากธนาคาร เพราะธนาคารไม่สามารถประเมินราคาได้

บางครั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถสะสางปัญหากันได้อย่างลงตัวแล้ว ทำให้มีคำสั่งศาลให้ถอนบ้านออกจากการขายทอดตลาด ในกรณีนี้ ผู้ซื้อจะต้องยินยอมโอนกรรมสิทธิ์กลับคืนเหมือนเดิม อาจทำให้ผู้ซื้อเสียเวลาเปล่าได้

อ้างอิงที่มาจาก:กสิกรไทย

สามารถรับชมการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดทางออนไลน์ได้อีกด้วยผ่านการไลฟ์สดผ่านเว็ปไซต์ของกรมบังคับคดี สามารถเข้าไปเช็ควันและเวลาได้ที่เว็ปไซต์ กรมบังคับคดี ได้เลยค่ะ ที่ดินขายทอดตลาดกรมบังคับคดี 2567

ไอเดียสรุป

ใครที่มองหาทรัพย์สินไว้เพื่อลงทุน หรือจะเพื่ออยู่อาศัย และคุณก็มีทุนมีเงินสดที่สามารถเข้าซื้อได้ การประมูลทรัพย์ขายทอดตลาดบ้านและที่ดินของกรมบังคับคดีถือว่าดีมากๆ แต่คุณก็จะต้องไปประมูลแข่งกับกลุ่มนายทุนอีกที ที่ดินขายทอดตลาดกรมบังคับคดี 2567

ไอเดียเพิ่มเติม

2,876 Views จำนวนผู้เยี่ยมชม